พระธาตุนาดูน
พุทธมณฑลแห่งอีสาน
ตั้งอยู่ที่บ้านนาดูน เขตอำเภอนาดูน เป็นเขตที่มีการขุดพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต
เพราะบริเวณนี้ได้เคยเป็นที่ตั้งขอนครจำปาศรีมาก่อน โบราณวัตถุต่างๆ
ที่ค้นพบได้นำไปแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่นและที่สำคัญ
ยิ่งก็คือการขุดพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุบรรจุในตลับทองคำ เงิน และสำริด ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่
13-15 สมัยทวาราวดี รัฐบาลจึงอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้าง พระธาตุนาดูน ขึ้นใน
เนื้อที่ 902 ไร่ โดยบริเวณรอบๆ
จะมีพิพิธภัณฑ์ทางศาสนาและวัฒนธรรม สวนรุกขชาติ สวนสมุนไพร
ซึ่งตกแต่งให้เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา การเดินทางจากตัวเมืองมหาสารคาม
โดยใช้เส้นทางหมายเลข 2040 ผ่านอำเภอแกดำ
อำเภอวาปีปทุม แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2045 ถึงอำเภอนาดูน
ทางลาดยางตลอด ห่างจากตัวเมืองประมาณ 65 กิโลเมตร
ความเป็นมาของพระธาตุนาดูน
อำเภอนาดูน เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณแห่งหนึ่งที่มีประวัติอันยาวนาน
โดยบริเวณที่ตั้งของอำเภอนาดูนคือ เมืองจัมปาศรีที่เจริญรุ่งเรือนในสมัยทวารวดี
เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-15 ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่ค้นพบมากมาย
สรุปความดังนี้
ถิ่นฐานอารยธรรมจัมปาศรีในอดีตกาล สันนิษฐานได้ว่ามีความเจริญรุ่งเรืองมา 2
ยุค คือ
1. ยุคทวารวดี
ระหว่าง พ.ศ. 1000-1200
2. ยุคลพบุรี ระหว่าง พ.ศ. 1600-1800
ในราวพุทธศตวรรษที่ 13-16 ภายในตัวเมืองและนอกเมืองมีเจดีย์สมัยทวารวดีอยู่
25 องค์ (ขณะนี้ได้ขุดค้นพบแล้ว 10
องค์) เจ้าผู้ครองเมืองนครจำปาศรี นับตั้งแต่ พระเจ้ายศวรราช
ได้สร้างสถานที่สักการะบูชาในพิธีทางศาสนาพราหมณ์และพุทธ เช่น เทวาลัย ปรางค์กู่
เป็นต้น ซึ่งถือว่าได้เจริญรุ่งเรืองทั้งในด้านศาสนา
วัฒนธรรม และการปกครอง จนถึงขีดสุดแล้วได้เสื่อมถอยลงจนถึงยุคอวสานในสมัยพระเจ้าฟ้างุ่มแหล่งหล้า
ธรณี
ค้นพบและการก่อสร้างพระธาตุนาดูน
เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2522 ได้ขุดค้นพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
สถูปทำด้วยทองสำริด แยกเป็น 2 ส่วน คือ1.
ตัวสถูปหรือองค์ระฆัง แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ
ตัวสถูป เป็นส่วนที่บรรจุ พระอังคาร (ขี้เถ้า) เทียนดอกไม้
ตอนคอสถูปเป็นส่วนที่บรรจุผอบพระบรมสารีริกธาตุโดยผอบจะบรรจุพร้อมกัน 3 ชั้น คือ ผอบทองคำ จะซ้อนอยู่ในผอบเงิน ผอบเงินจะซ้อนอยู่ในผอบทองสำริด
ทุกผอบมีฝาปิดมิดชิด ภายในผอบทองคำมีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุ 1 องค์ มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวขุ่นขนาดเท่าเมล็ดข้าวสารหักครึ่ง
หล่อเลี้ยงไว้ด้วยน้ำมันจันทน์เมื่อเปิดออกมาจะมีกลิ่นหอมมาก
2. ส่วนยอดทำด้วยทองสำริดกลมตัน
ทำเป็นปล้องไฉนลูกแก้วและปลียอด
ตอนต้นทำเป็นเกลียวสามารถปิดประกอบกับส่วนตัวองค์สถูปได้พอดี
พระธาตุนาดูน จำลองแบบสถูปทองสำริดที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
ซึ่งเป็นศิลปะทวารวดี ก่อสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2530
โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร
เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ
ขึ้นประดิษฐานไว้ในองค์พระธาตุนาดูน เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน
2530
วนอุทยานโกสัมพี
(KOSUMPEE
FOREST PARK) ตั้งอยู่ในเขตท้องที่เขตเทศบาลเมืองโกสุมพิสัย
อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม บริเวณ เขตวนอุทยานโกสัมพี มีเนื้อที่ ประมาณ 125
ไร่ ประกอบด้วยพื้นที่ดำเนินการ 2 ส่วน
พื้นที่ส่วนที่ 1 ใช้สร้างอาคารสำนักงาน บ้านพักรับรอง
บ้านพักเจ้าหน้าที่และอื่น ๆ พื้นที่ส่วนที่ 2 ใช้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าใช้สำหรับศึกษาธรรมชาติ
และพักผ่อนอันประกอบไปด้วยป่าไม้ ลำน้ำชี แก่งตาด ลานข่อย และฝูงลิงแสม
ประวัติวนอุทยานโกสัมพี
เดิมพื้นที่วนอุทยานโกสัมพี เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์
(ดอนมเหศักดิ์) ตั้งอยู่บ้านคุ้มกลาง ตำบลหัวขวาง ในเขตเทศบาล ตำบลหัวขวาง
อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม อยู่ติดแม่น้ำชี และมีองค์หลวงพ่อมิ่งเมือง
ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้าน คู่เมืองของชาวอำเภอโกสุมพิสัยกราบไหว้บูชา
นอกจากนี้ยังมีดอนปู่ตา พื้นที่มีสภาพเป็นป่าไม้เบญจพรรณ
ต้นไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้นขึ้นเป็นจำนวนมากและมีฝูงลิงแสมอาศัยอยู่เป็นจำนวน
กว่า 500 ตัว ป่าหนองบุ่งแห่งนี้ เป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ มีศาลเจ้าปู่
ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวอำเภอโกสุมพิสัยแม้แต่ลิงแสมที่อาศัยอยู่เขตวน
อุทยานโกสัมพีก็เชื่อกันว่า เป็นลิงของเจ้าปู่ไม่มีใครกล้าแตะต้อง
แต่เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ดูแลรับผิดชอบโดยตรงทางจังหวัด
มหาสารคามจึง ได้เสนอขอให้กรมป่าไม้มาดำเนินการจัดการ
พื้นที่สาธารณประโยชน์แห่งนี้ให้เป็นวนอุทยานเพื่อให้เป็นสถานที่พักผ่อน
หย่อนใจของประชาชนโดยทั่วไปและกรมป่าไม้โดยส่วนอุทยานแห่งชาติ
จึงได้เข้ามาดำเนินการแต่งตั้งเป็นวนอุทยาน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม
2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันโดยมีชื่อว่า "วนอุทยานโกสัมพี"
ลักษณะโดยทั่วไป
แต่เดิมป่าแห่งนี่ จัดเป็นวัฒนธรรม หรือป่าที่คนอีสานเรียกว่า "ป่าดอนปู่ตา" ระบบนิเวศของป่าแห่งนี้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ คือ
บริเวณป่าที่มีน้ำท่วมไม่นาน ที่คนอิสานเรียกว่า "ป่าบุ่งป่าทาม"
ประกอบด้วยทรัพยากรป่าไม้และสภาพนิเวศวิทยาค่อนข้าง สมบูรณ์
อยู่ติดบริเวณริมฝั่งแม่น้ำชี มีลิงแสมอาศัยกว่า 500 ตัว
และนับว่าจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น และยังมีหนองน้ำธรรมชาติอยู่ตรงกลางซึ่งชาวบ้านเรียกว่าหนองบุ่งมีเนื้อที่
ประมาณ 3 ไร่ มีน้ำขังตลอดปี ลึกประมาณ 1-5 เมตร มีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้น อยู่เป็นจำนวนมากเช่น ไม้ยาง ไม้กระเบา ตะโก
ข่อย มะเดือ ไม้ไผ่ สำหรับไม้กระเบา ไม้หว้า เป็นทั้งอาหารและยาของลิงแสม
จุดที่น่าสนใจของวนอุทยาน
• แก่งตาด อยู่ในลำชีด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกของวนอุทยานโกสัมพี มีหินดาน เป็นบริเวณกว้างในช่วงฤดูแล้ง
ธันวาคม-พฤษภาคม น้ำจะตื้นเขิน มองเห็นดินดาน มีน้ำไหลรินกระทบหินดานสาดกระเซ็นเป็นฟองและคลื่นขาวสะอาด
สวยงาม และแปลกตา และบริเวณติดต่อกับริมฝั่งลำน้ำชี ก็มีทัศนียภาพสวยงาม ร่มรื่น เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวพักผ่อน
หย่อนใจ จับปลา กินข้าวป่า เป็นอย่างยิ่ง
• ลานข่อย วนอุทยานโกสัมพีได้พัฒนาตกแต่งดัดแปลง ต้นข่อยที่มีอยู่เดิมตาม ธรรมชาติได้เป็นแคระตกแต่งเป็นรูปต่าง
ๆ มีให้ชมกว่า 200 ต้น ลิงแสม เป็นสัตว์ป่าประจำถิ่นของป่าแห่งนี้
โดยลิงแสมในวนอุทยานโกสัมพีจะมีลักษณะ 2 สี
คือลิงแสมสีเทาและลิงแสมสีทอง และลิงแสมสีทองจะมีเฉพาะในวนอุทยานแห่งเดียว ซึ่งหาดูได้ยากในประเทศไทย
คือ "วนอุทยานโกสัมพี"
• บุ่ง อยู่ข้างริมฝั่งชีใกล้กับแก่งตาด มีต้นไม้ใหญ่ๆ และเถาวัลย์นาๆ ชนิด มีหนองน้ำตลอดปี
และเป็นที่อยู่ของฝูงลิง เป็นสถานที่ร่มเย็นฤดูแล้งหน้าร้อนเข้าพักผ่อนหย่อนใจได้ดี
หากได้รับการตกแต่งประดิษฐ์แล้วจะเป็นสวนสัตว์และทิวทัศน์อวดแขกบ้านชาว เมืองได้แห่งหนึ่ง
และในขณะนี้แขกต่างเมืองก็เข้าไปเดินเล่นและชมหมู่ลิงอยู่เสมอ
• พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า มีพรรณไม้หลายชนิดส่วนใหญ่ที่สำคัญได้แก่ กะเบา ยาง ชมภู่ป่า หว้า
ทองกวาว กระโดดสำหรับไม้พื้นล่างส่วนใหญ่ ได้แก่ เถาวัลย์เปรียง หวาย ตดตะกั่ว มะดัน
นมแมว คัดเค้า และไม้ไผ่ นอกจากนั้นยังมีต้นจามจุรี หรือก้ามปู ซึ่งชาวบ้านนำไปปลูกไว้
นอกจากจะมีพรรณไม้ดังกล่าวมาแล้ว ยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยไม้มีค่านานาชนิด อาทิเช่น
มะค่าโมง ตะเคียนทอง ตะแบกใหญ่ เป็นต้น สัตว์ป่าที่ยังมีเหลืออยู่ในปัจจุบันที่สำคัญได้แก่
ลิง ซึ่งมีอยู่ 2 ฝูง จำนวนประมาณ 500 ตัว
และยังมีนกกางเขนบ้าน นกกิ้งโค้ง นกสาริกา นกเอี้ยงหงอน นกปรอดสวน นกปรอดหัวโขน
นกอีเสือหัวดำ และพวกนกกระจิบธรรมดา
สถานที่ติดต่อ
วนอุทยานโกสัมพี
บ้านคุ้มกลาง ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 44140 หรือ ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. 5795743
, 5797223
การเดินทาง
วนอุทยานโกสัมพี ตั้งอยู่บริเวณเขตเทศบาล ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ปัจจุบันการคมนาคม
เข้าถึงเขตวนอุทยานโกสัมพี ค่อนข้างจะสะดวกสบาย จึงเหมาะสำหรับการเดินทางมาพักผ่อนหย่อนใจ
ในระยะสั้นเช้ามาเย็น กลับ หรือจะค้างแรม โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวที่อากาศเย็นสบาย สำหรับ การเดินทางมาวนอุทยานโกสัมพี คือ จากตัวเมืองจังหวัดมหาสารคามเดินทางตามแนวทางหลวงหมายเลข
208 ไปอำเภอโกสุมพิสัย ให้เดินทางตรงลงมาอีก 600 เมตร ตามเส้น ทาง ร.พ.ช.สาย 508 (บ้านคุ้มกลาง-โพนงาม)
ให้เลี้ยวขวาก็จะถึงที่ทำการ "วนอุทยานโกสัมพี" รวมระยะทาง 30 กิโลเมตร
ข้อมูลหาดวังโก :
ที่ตั้ง : อำเภอ โกสุมพิสัย จังหวัด มหาสารคาม
ช่วงเวลาที่เหมาะแก่ท่องเที่ยว : ตลอดทั้งปี
ลักษณะของสถานที่ : หาดวังโก
เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจแห่งหนึ่งในอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
ที่เพิ่งพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ตั้งอยู่ที่อำเภอท่าเดื่อ ต.หนองบอน
อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม เปิดบริการ 08.00 น. –
18.00 น. ทุกวัน เป็นทะเลน้ำจืดที่มีเครื่องเล่นต่าง ๆ มากมาย เช่น
บานาน่าโบ้ท โดนัสสกี ยังมีเปลและร่มไว้สำหรับนอนพักตากอากาศ อาบแดด มีร้านอาหารต่าง
ๆ หลายร้านด้วยกัน
ข้อมูลอื่นๆ : สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
ที่อยู่ : อ.โกสุมพิสัย
การเดินทางโดยรถยนต์ : ไปตามเส้นทางมหาสารคาม-โกสุมพิสัย–ขอนแก่น หาดวังโก จะอยู่ขวามือถ้าเรามุ่งหน้าไปขอนแก่นออกจากโกสุมมาได้ไม่ไกลนัก
ภาพภูมิทัศน์ของหาดวังโก : ภูมิทัศน์
บริเวณถนนรอบๆ หาดวังโก ซึ่งเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจอีกแห่งหนึ่ง ของ
จังหวัดมหาสารคาม
พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อตั้งเมื่อวันที่
1 มิถุนายน พ.ศ.2542 โดยมีความมุ่งหมายเพื่อสื่อสารถึงอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ที่มีจุดเริ่มต้นและพัฒนาการอย่างมีความหมายและความสำคัญควบคู่มากับ พัฒนาการ
ของสังคม ตั้งแต่ยุคที่เป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม (พ.ศ.2511) จนถึงมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม
(พ.ศ.2517) และเป็นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (พ.ศ.2537)
รวมทั้งเป็นศูนย์กลางแห่งการพัฒนาองค์ความรู้ด้านพิพิธภัณฑ์เพื่อส่งเสริม
ให้สังคมได้รับผลประโยชน์จากกิจการพิพิธภัณฑ์ ทั้งในด้านการปลูกจิตสำนึกแห่งคุณค่าและความสำคัญของท้องถิ่น
การจัดการพิพิธภัณฑ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม
นอกจากนี้ โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคามยังทำหน้าที่สนับสนุนการ
จัดการเรียนการสอน การวิจัย และบริการวิชาการด้านพิพิธภัณฑ์ตลอดจนเป็นสถานที่สำหรับการพักผ่อนและจัด
กิจกรรมสำหรับคณาจารย์ นิสิต และบุคคลทั่วไป
ภายในพื้นที่โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้แบ่งพื้นที่ใช้สอยออกเป็น
8 ส่วน ดังนี้
1. เรือนอีสานประยุกต์หลังใหญ่ ประกอบด้วย สำนักงาน
ห้องประชุมใหญ่ ห้องประชุมย่อย ห้องรับรอง คลังพิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
และนิทรรศการพัฒนาการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
2. เรือนอีสานประยุกต์หลังเล็ก
ประกอบด้วยนิทรรศการพัฒนาการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
และพื้นที่สำหรับจัดนิทรรศการหมุนเวียน
3. เรือนโข่ง
ปัจจุบันเป็นที่ตั้งชมรมนาฏศิลป์และดนตรีพื้นเมืองมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
4. เรือเกย
ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโครงการอนุรักษ์ใบลานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
5. เล้าข้าว ตูบต่อเล้า
จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในวิถีชีวิตชาวลุ่มแม่น้ำชี
6. เรือนผู้ไท จัดแสดงนิทรรศการภูมิปัชาวลุ่มแม่น้ำชี
7. ลานกิจกรรม เป็นพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมกลางแจ้ง
8. สถานีศึกษาสัตว์
|
แหล่งข้อมูล:
thai.tourismthailand.org