วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดรายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน

แบบฝีึกหัด


บทที่1 (กิจกรรม1)                                                                                          กลุ่มเรียนที่ 4
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                                     รหัสวิชา 0026008
นายอลงกรณ์ ทุงจันทร์                                                         รหัสประจำตัวนิสิต 52010213138

จงเติมในช่องว่างว่าข้อใดเป็นข้อมูล หรือสารสนเทศ
1.ข้อมูลหมายถึง...........................................................................................
2.ข้อมูลปฐมภูมิคือ..........................ยกตัวอย่างประกอบ......................................
3.ข้อมูลทุติยภูมิคือ..........................ยกตัวอย่างประกอบ......................................
4.สารสนเทศหมายถึง......................................................................................
5.จงอธิบายประเภทของสารสนเทศ.....................................................................
6.ข้อเท็จจริงของสิ่งต่างๆที่อาจเป็นตัวเลขข้อความรูปภาพเสียงคือ.............................
7.ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลป็น.........................................................................
8.ส่วนสูงของเพื่อนที่ถามจากเพื่อนแต่ละคน.........................................................
9.ผลของการลงทะเบียนเป็น.............................................................................
10.กราฟแสดงจำนวนนิสิตในห้องเรียนวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน
Sectionวันอังคารเป็น......................................................................................


1. ข้อมูลหมายถึง
ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผลซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน เพศ อายุ เป็นต้น

ที่มา http://blog.eduzones.com/jipatar/85845

 2.ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) คือ ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ได้จากการเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลโดยตรง เช่น ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสังเกต การทดลอง การทดสอบ ข้อมูลการเข้าชั้นเรียนของนักเรียนแต่ละภาคการศึกษา เป็นต้น


3.ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) คือ ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ได้จากการนำข้อมูลที่ผู้อื่นรวบรวมไว้ไว้อย่างเป็นระบบ มาใช้งานโดยไม่ต้องลงมือเก็บรวบรวมเอง เช่น สถิติจำนวนประชากรที่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยรวบรวมและตีพิมพ์เผยแพร่ ซึ่งสามารถนำเอาไปประมวลผลต่อได้ เป็นต้น

ที่มา หนังสือ รายวิชาพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.๑

4. สารสนเทศหมายถึง ข้อมลู ข่าวสาร ที่ได้ทีการจัดการไม่ว่าจะเป็นการคิดคำนวณ ประมวลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ ได้มีการคัดเลือกสรรและนำไปใช้ให้ทันต่อความต้องการในการใช้งาน และทันเวลา
 

http://non-krittayot.blogspot.com/2008/05/blog-post_30.html



5.ประเภทของระบบสารสนเทศ

 ระบบสารสนเทศจำแนกตามโครงสร้างองค์การ (Classification by Organizational Structure)
การจำแนกประเภทนี้เป็นการจำแนกตามโครงสร้างขององค์การ ตั้งแต่ระดับหน่วยงานย่อยระดับองค์การทั้งหมด และระดับระหว่างองค์การ

สารสนเทศของหน่วยงานย่อย (Departmental information system)
หมายถึงระบบสารสนเทศที่ออกมาเพื่อใช้สำหรับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งขององค์การ โดยแต่ละหน่วยงานอาจมีโปรแกรมประยุกต์ใช้งานใดงานหนึ่งของตนโดยเฉพาะ เช่น ฝ่ายบุคลากรอาจจะมีโปรแกรมสำหรับการคัดเลือกบุคคลหรือติดตามผลการโยกย้ายงานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานโดยโปรแกรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องของฝ่ายบุคลากรจะมีชื่อว่าระบบสารสนเทศด้าน ทรัพยากรมนุษย์ (Human resources information systems)

ระบบสารสนเทศของทั้งองค์การ (Enterprise information systems)
หมายถึงระบบสารสนเทศของหน่วยงานที่มีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่ทั้งหมดภายในองค์การหรืออีกนัยหนึ่งก็คือองค์การนั้นมีระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงทั้งองค์การ

ระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงระหว่างองค์การ (Interorganizational information systems-IOS)
เป็นระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงกับองค์การอื่นๆ ภายนอกตั้งแต่ 2 องค์การขึ้นไป เพื่อช่วยให้การติดต่อสื่อสาร หรือการประสานงานร่วมมือมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยการผ่านระบบ IOS จะช่วยทำให้การไหลของสารสนเทศระหว่างองค์การหรือทั้งซัพพลายเชน (Supply chain) เป็นไปโดยอัตโนมัติ เพื่อใช้ในการวางแผน ออกแบบ การพัฒนา การผลิต และการส่งสินค้าและบริการ

การจำแนกตามหน้าที่ขององค์การ (Classification by Functional Area)
การจำแนกระบบสารสนเทศประเภทนี้จะเป็นการสนับสนุนการทำงานตาหน้าที่หรือการทำกิจกรรมต่างๆ ขององค์การ (Turban et al.,2001) โดยทั่วไปองค์การมักใช้ระบบสารสนเทศในงานที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ต่างๆ เช่น
·   ระบบสารสนเทศด้านบัญชี (Accounting information system)
·   ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (Finance information system)
·   ระบบสารสนเทศด้านการผลิต (Manufacturing information system)
·   ระบบสารสนเทศด้านการตลาด (Marketing information system)
·   ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human resource management information system)

การจำแนกตามการให้การสนับสนุนของระบบสารสนเทศ (Classification by Support Provided)
การจำแนกตามการให้การสนับสนุนของระบบสารสนเทศ แบ่งเป็น 3 ประเภทย่อย คือ ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ (Transaction Processing Systems) ระบบสารสนเทศแบบรายงานเพื่อการจัดการ (Management Reporting Systems) และระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems)

ระบบสารสนเทศแบบรายงานเพื่อการจัดการ (Management Reporting Systems)
เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการทำรายงานตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ และช่วยในการตัดสินใจที่มีลักษณะโครงสร้างชัดเจนและเป็นเรื่องที่ทราบล่วง หน้า

ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems)
เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยผู้บริหารตัดสินใจเชิงกลยุทธ์มีความยืดหยุ่นสูงและมีลักษณะโต้ตอบได้ (interactive) โดยอาจมีการใช้โมเดลการตัดสินใจ หรือการใช้ฐานข้อมูลพิเศษช่วยในการตัดสินใจ

ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ(Transaction Processing Systems -TPS)
       เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมหรือการ ปฏิบัติงานประจำหรืองานขั้นพื้นฐานขององค์การ เช่น การซื้อขายสินค้า การบันทึกจำนวนวัสดุคงคลัง เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่ เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า

ที่มา http://www.bcoms.net/temp/lesson8.asp

 6. ข้อเท็จจริงของสิ่งต่างๆที่อาจเป็นตัวเลขข้อความรูปภาพเสียงคือ ข้อมูล
 7. ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลป็น สารสนเทศ
 8. ส่วนสูงของเพื่อนที่ถามจากเพื่อนแต่ละคนเป็นข้อมูลปฐมภูมิ
 9.ผลของการลงทะเบียนเป็นข้อมูลทุติยภูมิ
 10. กราฟแสดงจำนวนนิสิตในห้องเรียนวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวันSection
  วันอังคารเป็นข้อมูลตติยภูมิ


แบบฝีึกหัด


บทที่2 บทบาทสารสนเทศกับสังคม                                                                    กลุ่มเรียนที่ 4
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                                     รหัสวิชา 0026008
นายอลงกรณ์ ทุงจันทร์                                                         รหัสประจำตัวนิสิต 52010213138


  1.ให้นิสิตหารายชื่อเว็ปไซต์หรือเทคโนโลยีที่ให้บริการต่างๆ ตามหัวข้อเหล่านี้มาอย่างละ 3 รายการ

1.1 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการศึกษา
http://forum.datatan.net/index.php/topic,126.msg126.html
http://www.csjoy.com/story/net/tne.htm
http://drpaitoon.com/


1.2 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพธุรกิจ พาณิชย์ และสำนักงาน
http://www.thaigoodview.com/node/91221
http://forum.datatan.net/index.php/topic,126.msg126.html
http://www.prachyanun.com/artical/ict.html


1.3 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพการสื่อสารมวลชน
http://www.wangjom.com/newseducation/12428.html
http://www.bcoms.net/temp/lesson12.asp
http://www.siit.tu.ac.th/thai/it.html


1.4 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางอุตสาหกรรม
http://www.prachyanun.com/artical/ict.html
http://www.bankokyangschool.ac.th/learning-computer/212-information-technology.html
http://bunmamint18.blogspot.com/


1.5 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางการแพทย์
http://board.dserver.org/s/sukunyap/00000003.html
http://www.nextproject.net/contents/default.aspx?00100
http://www.most.go.th/main/index.php/flagship/116-nstda/1719---2550-.html


1.6 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทหารตำรวจ
http://www.slideshare.net/Mazda007/unit8-6055932
http://www.panteethai.com/links.asp
http://www.pantip.com/cafe/library/link/


1.7 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพวิศวกรรม
http:/www.softbizplus.com/computer/556-professional-computer-branches
http://www.coe.or.th/e_engineers/coeindex.php
http://www.dpu.ac.th/eng/ce/



1.8การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพด้านเกษตรกรรม
http://forum.datatan.net/index.php/topic,126.msg126.html
http://www.acr.ac.th/acr/library/link/com.htm
http://www.oae.go.th/ewt_news.php?nid=6582&filename=index


1.9 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับคนพิการต่างๆ
http://www.most.go.th/portalweb/index.php/product/projects-along-the-royal/sxdasd/2138-project-it2.html
http://www.most.go.th/main/index.php/product/projects-along-the-royal/sxdasd/2138-project-it2.html
http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=25&chap=7&page=t25-7-infodetail07.html


2. มหาวิทยาลัยมหาสารคามเตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาให้กับท่าน มีอะไรบ้าง บอกมาอย่างน้อย 3 อย่าง

- อินเตอน์เน็ต
- wireless
- ห้องสมุดเทคโนโลยี

3. จากข้อ 2 จงวิเคราะห์ว่าท่านจะเอาเทคโนโลยีเหล่านั้น มาทำให้เกิดประโยนช์ต่อตนเองอย่างไรบ้าง
   - นำมาใช้ในการศึกษาหาข้อมูล
   - สืบค้นข้อมูลต่างๆเพื่อการศึกษา
   - นำมาทำให้ตนเองมีความสุข




แบบฝีึกหัด


บทที่ 3 การรู้สารสนเทศ                                                                                   กลุ่มเรียนที่ 4
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                                     รหัสวิชา 0026008
นายอลงกรณ์ ทุงจันทร์                                                         รหัสประจำตัวนิสิต 52010213138



คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
1. ข้อใดเป็นความหมายที่ถูกต้องที่สุดของการรู้สารสนเทศ
ก. ความสามารถในการกลั่นกรอง และประเมินค่าสารสนเทศที่หามาได้
ข. ความสามารถในการตัดสินใจใช้สารสนเทศรูปแบบต่างๆ
ค. ความสามารถของบุคคลในการสืบค้นและพัฒนาสารสนเทศ
ง. ความสามารถของบุคคลในการเข้าถึง ประเมิน และใช้งานสารสนเทศ
2. จากกระบวนการของการรู้สารสนเทศ ทั้ง 5 ประการ ประการไหนสำคัญที่สุด
ก. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจึงต้องการสารสนเทศ
ข. ความสารถในการค้นหาสารสนเทศ
ค. ความสามารถในการประเมินผลสารสนเทศ
ง. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ
ก. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
ข. สามารถใช้สารสนเทศในการดำเนินชีวิต
ค. ชอบใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกม
ง. ใช้คอมพิวเตอร์ในการแสวงหาสารสนเทศได้
4. ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ
1. โลกมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก โดยเน้นวัตถุนิยมมากขึ้น
2. ช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต
3. สารสนเทศมีการเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว จนยากที่จะเข้าถึง
4. ช่วยบุคคลเป็นผู้ที่มีศักยภาพในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
5. ข้อใดเป็นการเรียงลำดับขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้สารสนเทศที่ถูกต้อง
1. ความสามารถในการประมวลสารสนเทศ
2. ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ
3. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสนเทศอย่างมี ประสิทธิภาพ
4. ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ
5. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจึงจะต้องการสารสนเทศ
ก. 1-2-3-4-5     ข. 2-4-5-3-1       ค. 5-4-1-2-3      ง. 4-3-5-1-2




แบบฝีึกหัด
บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ                                                                           กลุ่มเรียนที่ 4
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                                     รหัสวิชา 0026008
นายอลงกรณ์ ทุงจันทร์                                                         รหัสประจำตัวนิสิต 52010213138
จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. ให้นิสิตยกตัวอย่าง อุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามหัวข้อต่อไปนี้ อย่างน้อยหัวข้อละ 3 ชนิด
    1.1 การบันทึกและจัดเก็บข้อมูล
          -  แผ่นซีดี
          -  ฮาร์ดดิสท์
          -  USB ไดร์ฟ
   1.2 การแสดงผล
          -  จอภาพ คอมพิวเตอร์
          -  จอโปรเจ็กเตอร์ 
          -  เครื่องพิมพ์
   1.3 การประมวลผล
          -  ซอฟต์แวร์
          -  ฮาร์ดแวร์
          -  OS    
   1.4 การสื่อสารและเครือข่าย
          -  อินเตอร์เน็ต  
          -  การประชุมผ่านทางจอภาพ  
          -  ห้องสมุดอีเล็กทรอนิกส์  
2. ให้นิสิต นำตัวเลขในช่องขวา มาเติมหน้าข้อความในช่องซ้าย ที่มีความสัมพันธ์กัน

ซอฟต์แวร์ประยุกต์
 - 8 (โปรแกรมระบบห้องสมุด จัดเป็ฯซอฟต์แวร์ประเภท..) 

Information Technology
- 3 ( เทคโนโลยีต่างๆ ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับ   สารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ   ความถูกต้อง และความรวดเร็วในการนำไปใช้)

คอมพิวเตอร์ในยุคประมวลผลข้อมูล
- 1 (ส่วนใหญ่ใช้ทำหน้าที่คำนวณ ประมวลผลข้อมูล

เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย
- 6 (เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  เทคโนโลยี การสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีอื่นๆที่เกี่ยวข้อง)

ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มต้นทุน และเพพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
  - 10 (ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ)

ซอฟต์แวร์ระบบ
- 7 (โปรแกรมที่ทำหน้าที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์)

การนำเสนอบทเรียนในรูปมัลติมีเดียที่ผู้เรียนสามารถเรียนรุ้ได้ด้วยตัวเองตามระดับความสามารถ
- 9 (CAI)

EDI
- 5 (การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรับ-ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย)

การสื่อสารโทรคมนาคม
- 4 (มีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน คือ Sender-Medium และ Decoder 

บริการชำระภาษีออนไลน์
- 2 (e-Revenue)



 
     

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

"ไทคัพ มหกรรมกีฬาท้องถิ่นแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 12"



นายรังสฤษดิ์ ลักษิตานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด ร่วมกับ ดร.สุวัตร สิทธิหล่อ  ปลัด กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และ คุณวัลลภ พริ้งพงษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย แถลงข่าวการแข่งขัน "ไทคัพ มหกรรมกีฬาท้องถิ่นแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 12" เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2556  ที่ผ่านมา ณ  โรงแรมรามาการ์เด้นท์     ห้องแกรนด์ฮอลล์

นายรังสฤษดิ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา ศึกไทคัพ จัดมาแล้วถึง 11 ครั้ง ได้รับการตอบรับจากประชาชนทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จนเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ตัวอย่างก็คือการที่มีทีมนักกีฬาสมัครเข้าร่วมการแข่งขันเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งตรงตามวัตถุประสงค์ของบริษัทฯ ที่ต้องการให้ ไทคัพเป็น ส่วนหนึ่งที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีสุขภาพ พลานามัยที่สมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ รักถิ่นกำเนิด อีกทั้งสร้างความสามัคคีให้กับชุมชนอีกด้วยและยังถือเป็นเกมระดับรากหญ้า อย่างแท้จริง

ปี นี้เราได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากได้ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและ เอกชน เพื่อร่วมกันดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้สำเร็จเรียบร้อยไปด้วยดี เชื่อว่าการแข่งขันครั้งนี้จะยิ่งใหญ่กว่า 11 ครั้งที่ผ่านมาอย่างแน่นอนนายรังสฤษดิ์ กล่าว 


ดร.สุวัตร สิทธิหล่อ  ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า กระทรวง ท่องเที่ยวและกีฬา มีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนการจัดการแข่งขันกีฬาและออกกำลังกายในทุกชุมชน ทุกหมู่บ้าน ทุกตำบล ทุกอำเภอ และทุกจังหวัด ต้องขอขอบคุณ บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด ที่ได้จัดกิจกรรมดีๆอย่างนี้ขึ้น โดยกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาได้มอบหมายให้ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด ดำเนินการจัดการแข่งขันตั้งตีระดับอำเภอและระดับจังหวัด เพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนของแต่ละจังหวัดไปแข่งขันในระดับเขตและระดับประเทศ ต่อไป” 

โดยในครั้งนี้ ไทคัพได้จัดกีฬาทั้งหมด 11 ชนิดกีฬา แบ่งเป็นระดับเขต 9 ชนิดกีฬา คือ ฟุตบอลประชาชนทั่วไป, ฟุตบอลอาวุโส, กีฬาพื้นบ้าน, กรีฑา, เซปักตะกร้อ, ตะกร้อลอดห่วงสากล, เปตอง, วอลเลย์บอล และการประกวดกองเชียร์ นอกจากนี้การแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ที่จังหวัดนครสวรรค์ ยังมีการจัดแข่งขันกีฬาเพิ่มอีก 2 ชนิดคือ ปิงปอง และแบดมินตัน

นอกจากนั้นยังมี มหกรรมอาหารสะอาด รสชาติอร่อย รวมทั้ง จะให้มีเวทีแสดงความสามารถของเยาวชนและประชาชนในเชิงการแสดงดนตรี ศิลปะวัฒนธรรมในภาคกลางคืนควบคู่กับการแข่งขันของทุกวัน

ทั้งนี้การแข่งขัน ไทคัพ มหกรรมกีฬาท้องถิ่นแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 12 ระดับเขต 9 เขต มีดังนี้
1. ภาคอีสานตอนบน จ.มหาสารคาม วันที่ 1-8 พฤศจิกายน 2556
2. ภาคอีสานตอนล่าง จ.ชัยภูมิ วันที่ 4-11 พฤศจิกายน 2556
3. ภาคเหนือตอนบน จ.น่าน วันที่ 13-20 พฤศจิกายน 2556
4. ภาคเหนือตอนล่าง  จ.สุโขทัย วันที่ 15-22 พฤศจิกายน 2556
5. ภาคกลางตอนบน จ.อยุธยา วันที่ 25 พฤศจิกายน - 2 ธันวาคม 2556
6. ภาคกลางตอนล่าง จ.ประจวบฯ วันที่ 27 พฤศจิกายน - 4 ธันวาคม 2556
7. ภาคใต้ตอนบน จ.ระนอง วันที่ 6-13 ธันวาคม 2556
8. ภาคใต้ตอนล่าง จ.พัทลุง วันที่ 9-16 ธันวาคม 2556
9. ภาคตะวันออก จ.นครนายก วันที่ 18-25 ธันวาคม 2556
และการแข่งขันในระดับประเทศ (รอบชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย)  จัดการแข่งขันที่ จ.นครสวรรค์
ระหว่างวันที่ 8-17 มกราคม 2557.     
 แหล่งข้อมูล : www.dailynews.co.th 

วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

แนะนำของดีประจำจังหวัดมหาสารคาม






พระธาตุนาดูน

พุทธมณฑลแห่งอีสาน ตั้งอยู่ที่บ้านนาดูน เขตอำเภอนาดูน เป็นเขตที่มีการขุดพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต เพราะบริเวณนี้ได้เคยเป็นที่ตั้งขอนครจำปาศรีมาก่อน โบราณวัตถุต่างๆ ที่ค้นพบได้นำไปแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่นและที่สำคัญ ยิ่งก็คือการขุดพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุบรรจุในตลับทองคำ เงิน และสำริด ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13-15 สมัยทวาราวดี รัฐบาลจึงอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้าง พระธาตุนาดูน ขึ้นใน เนื้อที่ 902 ไร่ โดยบริเวณรอบๆ จะมีพิพิธภัณฑ์ทางศาสนาและวัฒนธรรม สวนรุกขชาติ สวนสมุนไพร ซึ่งตกแต่งให้เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา การเดินทางจากตัวเมืองมหาสารคาม โดยใช้เส้นทางหมายเลข 2040 ผ่านอำเภอแกดำ อำเภอวาปีปทุม แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2045 ถึงอำเภอนาดูน ทางลาดยางตลอด ห่างจากตัวเมืองประมาณ 65 กิโลเมตร

ความเป็นมาของพระธาตุนาดูน
     อำเภอนาดูน เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณแห่งหนึ่งที่มีประวัติอันยาวนาน โดยบริเวณที่ตั้งของอำเภอนาดูนคือ เมืองจัมปาศรีที่เจริญรุ่งเรือนในสมัยทวารวดี  เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-15 ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่ค้นพบมากมาย สรุปความดังนี้
     ถิ่นฐานอารยธรรมจัมปาศรีในอดีตกาล สันนิษฐานได้ว่ามีความเจริญรุ่งเรืองมา 2 ยุค คือ
1.   ยุคทวารวดี  ระหว่าง  พ.ศ. 1000-1200
2.   ยุคลพบุรี  ระหว่าง  พ.ศ. 1600-1800
     ในราวพุทธศตวรรษที่ 13-16 ภายในตัวเมืองและนอกเมืองมีเจดีย์สมัยทวารวดีอยู่ 25 องค์ (ขณะนี้ได้ขุดค้นพบแล้ว 10 องค์) เจ้าผู้ครองเมืองนครจำปาศรี นับตั้งแต่ พระเจ้ายศวรราช ได้สร้างสถานที่สักการะบูชาในพิธีทางศาสนาพราหมณ์และพุทธ เช่น เทวาลัย ปรางค์กู่ เป็นต้น  ซึ่งถือว่าได้เจริญรุ่งเรืองทั้งในด้านศาสนา  วัฒนธรรม และการปกครอง จนถึงขีดสุดแล้วได้เสื่อมถอยลงจนถึงยุคอวสานในสมัยพระเจ้าฟ้างุ่มแหล่งหล้า ธรณี
ค้นพบและการก่อสร้างพระธาตุนาดูน
     เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2522 ได้ขุดค้นพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สถูปทำด้วยทองสำริด แยกเป็น 2 ส่วน คือ1.   ตัวสถูปหรือองค์ระฆัง แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตัวสถูป เป็นส่วนที่บรรจุ พระอังคาร (ขี้เถ้า) เทียนดอกไม้ ตอนคอสถูปเป็นส่วนที่บรรจุผอบพระบรมสารีริกธาตุโดยผอบจะบรรจุพร้อมกัน 3 ชั้น คือ ผอบทองคำ จะซ้อนอยู่ในผอบเงิน ผอบเงินจะซ้อนอยู่ในผอบทองสำริด ทุกผอบมีฝาปิดมิดชิด ภายในผอบทองคำมีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุ 1 องค์ มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวขุ่นขนาดเท่าเมล็ดข้าวสารหักครึ่ง หล่อเลี้ยงไว้ด้วยน้ำมันจันทน์เมื่อเปิดออกมาจะมีกลิ่นหอมมาก
2.   ส่วนยอดทำด้วยทองสำริดกลมตัน ทำเป็นปล้องไฉนลูกแก้วและปลียอด ตอนต้นทำเป็นเกลียวสามารถปิดประกอบกับส่วนตัวองค์สถูปได้พอดี
     พระธาตุนาดูน จำลองแบบสถูปทองสำริดที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งเป็นศิลปะทวารวดี ก่อสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2530   โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ขึ้นประดิษฐานไว้ในองค์พระธาตุนาดูน เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2530








 วนอุทยานโกสัมพี (KOSUMPEE FOREST PARK) ตั้งอยู่ในเขตท้องที่เขตเทศบาลเมืองโกสุมพิสัย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม บริเวณ เขตวนอุทยานโกสัมพี มีเนื้อที่ ประมาณ 125 ไร่ ประกอบด้วยพื้นที่ดำเนินการ 2 ส่วน พื้นที่ส่วนที่ 1 ใช้สร้างอาคารสำนักงาน บ้านพักรับรอง บ้านพักเจ้าหน้าที่และอื่น ๆ พื้นที่ส่วนที่ 2 ใช้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าใช้สำหรับศึกษาธรรมชาติ และพักผ่อนอันประกอบไปด้วยป่าไม้ ลำน้ำชี แก่งตาด ลานข่อย และฝูงลิงแสม
ประวัติวนอุทยานโกสัมพี          เดิมพื้นที่วนอุทยานโกสัมพี เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ (ดอนมเหศักดิ์) ตั้งอยู่บ้านคุ้มกลาง ตำบลหัวขวาง ในเขตเทศบาล ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม อยู่ติดแม่น้ำชี และมีองค์หลวงพ่อมิ่งเมือง ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้าน คู่เมืองของชาวอำเภอโกสุมพิสัยกราบไหว้บูชา นอกจากนี้ยังมีดอนปู่ตา พื้นที่มีสภาพเป็นป่าไม้เบญจพรรณ ต้นไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้นขึ้นเป็นจำนวนมากและมีฝูงลิงแสมอาศัยอยู่เป็นจำนวน กว่า 500 ตัว ป่าหนองบุ่งแห่งนี้ เป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ มีศาลเจ้าปู่ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวอำเภอโกสุมพิสัยแม้แต่ลิงแสมที่อาศัยอยู่เขตวน อุทยานโกสัมพีก็เชื่อกันว่า เป็นลิงของเจ้าปู่ไม่มีใครกล้าแตะต้อง
          แต่เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ดูแลรับผิดชอบโดยตรงทางจังหวัด มหาสารคามจึง ได้เสนอขอให้กรมป่าไม้มาดำเนินการจัดการ พื้นที่สาธารณประโยชน์แห่งนี้ให้เป็นวนอุทยานเพื่อให้เป็นสถานที่พักผ่อน หย่อนใจของประชาชนโดยทั่วไปและกรมป่าไม้โดยส่วนอุทยานแห่งชาติ จึงได้เข้ามาดำเนินการแต่งตั้งเป็นวนอุทยาน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันโดยมีชื่อว่า "วนอุทยานโกสัมพี"

ลักษณะโดยทั่วไป
          แต่เดิมป่าแห่งนี่ จัดเป็นวัฒนธรรม หรือป่าที่คนอีสานเรียกว่า "ป่าดอนปู่ตา" ระบบนิเวศของป่าแห่งนี้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ คือ บริเวณป่าที่มีน้ำท่วมไม่นาน ที่คนอิสานเรียกว่า "ป่าบุ่งป่าทาม" ประกอบด้วยทรัพยากรป่าไม้และสภาพนิเวศวิทยาค่อนข้าง สมบูรณ์ อยู่ติดบริเวณริมฝั่งแม่น้ำชี มีลิงแสมอาศัยกว่า 500 ตัว และนับว่าจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น และยังมีหนองน้ำธรรมชาติอยู่ตรงกลางซึ่งชาวบ้านเรียกว่าหนองบุ่งมีเนื้อที่ ประมาณ 3 ไร่ มีน้ำขังตลอดปี ลึกประมาณ 1-5 เมตร มีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้น อยู่เป็นจำนวนมากเช่น ไม้ยาง ไม้กระเบา ตะโก ข่อย มะเดือ ไม้ไผ่ สำหรับไม้กระเบา ไม้หว้า เป็นทั้งอาหารและยาของลิงแสม
จุดที่น่าสนใจของวนอุทยาน
    แก่งตาด อยู่ในลำชีด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกของวนอุทยานโกสัมพี มีหินดาน เป็นบริเวณกว้างในช่วงฤดูแล้ง ธันวาคม-พฤษภาคม น้ำจะตื้นเขิน มองเห็นดินดาน มีน้ำไหลรินกระทบหินดานสาดกระเซ็นเป็นฟองและคลื่นขาวสะอาด สวยงาม และแปลกตา และบริเวณติดต่อกับริมฝั่งลำน้ำชี ก็มีทัศนียภาพสวยงาม ร่มรื่น เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวพักผ่อน หย่อนใจ จับปลา กินข้าวป่า เป็นอย่างยิ่ง       
     ลานข่อย วนอุทยานโกสัมพีได้พัฒนาตกแต่งดัดแปลง ต้นข่อยที่มีอยู่เดิมตาม ธรรมชาติได้เป็นแคระตกแต่งเป็นรูปต่าง ๆ มีให้ชมกว่า 200 ต้น ลิงแสม เป็นสัตว์ป่าประจำถิ่นของป่าแห่งนี้ โดยลิงแสมในวนอุทยานโกสัมพีจะมีลักษณะ 2 สี คือลิงแสมสีเทาและลิงแสมสีทอง และลิงแสมสีทองจะมีเฉพาะในวนอุทยานแห่งเดียว ซึ่งหาดูได้ยากในประเทศไทย คือ "วนอุทยานโกสัมพี"
     บุ่ง อยู่ข้างริมฝั่งชีใกล้กับแก่งตาด มีต้นไม้ใหญ่ๆ และเถาวัลย์นาๆ ชนิด มีหนองน้ำตลอดปี และเป็นที่อยู่ของฝูงลิง เป็นสถานที่ร่มเย็นฤดูแล้งหน้าร้อนเข้าพักผ่อนหย่อนใจได้ดี หากได้รับการตกแต่งประดิษฐ์แล้วจะเป็นสวนสัตว์และทิวทัศน์อวดแขกบ้านชาว เมืองได้แห่งหนึ่ง และในขณะนี้แขกต่างเมืองก็เข้าไปเดินเล่นและชมหมู่ลิงอยู่เสมอ
     พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า มีพรรณไม้หลายชนิดส่วนใหญ่ที่สำคัญได้แก่ กะเบา ยาง ชมภู่ป่า หว้า ทองกวาว กระโดดสำหรับไม้พื้นล่างส่วนใหญ่ ได้แก่ เถาวัลย์เปรียง หวาย ตดตะกั่ว มะดัน นมแมว คัดเค้า และไม้ไผ่ นอกจากนั้นยังมีต้นจามจุรี หรือก้ามปู ซึ่งชาวบ้านนำไปปลูกไว้ นอกจากจะมีพรรณไม้ดังกล่าวมาแล้ว ยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยไม้มีค่านานาชนิด อาทิเช่น มะค่าโมง ตะเคียนทอง ตะแบกใหญ่ เป็นต้น สัตว์ป่าที่ยังมีเหลืออยู่ในปัจจุบันที่สำคัญได้แก่ ลิง ซึ่งมีอยู่ 2 ฝูง จำนวนประมาณ 500 ตัว และยังมีนกกางเขนบ้าน นกกิ้งโค้ง นกสาริกา นกเอี้ยงหงอน นกปรอดสวน นกปรอดหัวโขน นกอีเสือหัวดำ และพวกนกกระจิบธรรมดา
สถานที่ติดต่อ
          วนอุทยานโกสัมพี บ้านคุ้มกลาง ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 44140 หรือ ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. 5795743 , 5797223
การเดินทาง
          วนอุทยานโกสัมพี ตั้งอยู่บริเวณเขตเทศบาล ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ปัจจุบันการคมนาคม เข้าถึงเขตวนอุทยานโกสัมพี ค่อนข้างจะสะดวกสบาย จึงเหมาะสำหรับการเดินทางมาพักผ่อนหย่อนใจ ในระยะสั้นเช้ามาเย็น กลับ หรือจะค้างแรม โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวที่อากาศเย็นสบาย สำหรับ การเดินทางมาวนอุทยานโกสัมพี คือ จากตัวเมืองจังหวัดมหาสารคามเดินทางตามแนวทางหลวงหมายเลข 208 ไปอำเภอโกสุมพิสัย ให้เดินทางตรงลงมาอีก 600 เมตร ตามเส้น ทาง ร.พ.ช.สาย 508 (บ้านคุ้มกลาง-โพนงาม) ให้เลี้ยวขวาก็จะถึงที่ทำการ "วนอุทยานโกสัมพี" รวมระยะทาง 30 กิโลเมตร





ข้อมูลหาดวังโก :
ที่ตั้ง : อำเภอ โกสุมพิสัย จังหวัด มหาสารคาม

ช่วงเวลาที่เหมาะแก่ท่องเที่ยว : ตลอดทั้งปี

ลักษณะของสถานที่ : หาดวังโก เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจแห่งหนึ่งในอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ที่เพิ่งพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ตั้งอยู่ที่อำเภอท่าเดื่อ ต.หนองบอน อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม เปิดบริการ 08.00 น. – 18.00 น. ทุกวัน เป็นทะเลน้ำจืดที่มีเครื่องเล่นต่าง ๆ มากมาย เช่น บานาน่าโบ้ท โดนัสสกี ยังมีเปลและร่มไว้สำหรับนอนพักตากอากาศ อาบแดด มีร้านอาหารต่าง ๆ หลายร้านด้วยกัน
ข้อมูลอื่นๆ : สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
ที่อยู่ : อ.โกสุมพิสัย
การเดินทางโดยรถยนต์ :  ไปตามเส้นทางมหาสารคาม-โกสุมพิสัยขอนแก่น หาดวังโก จะอยู่ขวามือถ้าเรามุ่งหน้าไปขอนแก่นออกจากโกสุมมาได้ไม่ไกลนัก

ภาพภูมิทัศน์ของหาดวังโก : ภูมิทัศน์ บริเวณถนนรอบๆ หาดวังโก ซึ่งเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจอีกแห่งหนึ่ง ของ จังหวัดมหาสารคาม
 

พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2542 โดยมีความมุ่งหมายเพื่อสื่อสารถึงอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่มีจุดเริ่มต้นและพัฒนาการอย่างมีความหมายและความสำคัญควบคู่มากับ พัฒนาการ ของสังคม ตั้งแต่ยุคที่เป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม (พ.ศ.2511) จนถึงมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม (พ.ศ.2517) และเป็นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (พ.ศ.2537) รวมทั้งเป็นศูนย์กลางแห่งการพัฒนาองค์ความรู้ด้านพิพิธภัณฑ์เพื่อส่งเสริม ให้สังคมได้รับผลประโยชน์จากกิจการพิพิธภัณฑ์ ทั้งในด้านการปลูกจิตสำนึกแห่งคุณค่าและความสำคัญของท้องถิ่น การจัดการพิพิธภัณฑ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม
นอกจากนี้ โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคามยังทำหน้าที่สนับสนุนการ จัดการเรียนการสอน การวิจัย และบริการวิชาการด้านพิพิธภัณฑ์ตลอดจนเป็นสถานที่สำหรับการพักผ่อนและจัด กิจกรรมสำหรับคณาจารย์ นิสิต และบุคคลทั่วไป

ภายในพื้นที่โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้แบ่งพื้นที่ใช้สอยออกเป็น 8 ส่วน ดังนี้
1. เรือนอีสานประยุกต์หลังใหญ่ ประกอบด้วย สำนักงาน ห้องประชุมใหญ่ ห้องประชุมย่อย ห้องรับรอง คลังพิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และนิทรรศการพัฒนาการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
2. เรือนอีสานประยุกต์หลังเล็ก ประกอบด้วยนิทรรศการพัฒนาการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และพื้นที่สำหรับจัดนิทรรศการหมุนเวียน
3. เรือนโข่ง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งชมรมนาฏศิลป์และดนตรีพื้นเมืองมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
4. เรือเกย ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโครงการอนุรักษ์ใบลานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
5. เล้าข้าว ตูบต่อเล้า จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในวิถีชีวิตชาวลุ่มแม่น้ำชี
6. เรือนผู้ไท จัดแสดงนิทรรศการภูมิปัชาวลุ่มแม่น้ำชี
7. ลานกิจกรรม เป็นพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมกลางแจ้ง
8. สถานีศึกษาสัตว์

;
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org